ลด 14%

฿249 ฿290
ประเภทหนังสือ : อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740215981
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 306
ขนาดไฟล์ : 7.21 MB
ผัวเดียวเมียเดียว อาณานิคมครอบครัวในสยาม "ถ้าให้มีเมียคนเดียว ประเทศของเรายังไม่พร้อม จักทำให้คนเดือดร้อน" หนังสือเล่มนี้จะสะท้อนและอธิบายให้เห็นทั้งในแง่ภูมิปัญญาการเมือง เรื่องเพศสภาพ และชนชั้นในสังคมไทย ผู้เขียน สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ "ผัวเดียวเมียเดียว" เป็นกรอบคิดแบบตะวันตกและถูกยกเป็นวัฒนธรรมแห่งชาติของไทยในทศวรรษ 2480 น่าสนใจว่าสังคมไทยสมัยใหม่ยอมรับความ "ศิวิไลซ์" แบบตะวันตกเข้ามาอย่างไร...ช่วงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ชนชั้นปกครองสยามมองว่า "ผัวเดียวเมียเดียว" คือ "ของนอก" ที่จะก่อปัญหานานัปการ จึงรักษาจารีต "ผัวเดียวหลายเมีย" ไว้ท่ามกลางแรงกดดันจากตะวันตกและความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ที่ผลักดันให้ผู้คนออกมาวิจารณ์ปัญหาเพศสภาพ เพศวิถี และความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง ในที่สุด ผัวเดียวเมียเดียวก็กลายเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับกันในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้จะสะท้อนและอธิบายให้เห็นทั้งในแง่ภูมิปัญญาการเมือง เรื่องเพศสภาพ และชนชั้นในสังคมไทย สารบัญ 1. เมื่อ "ผัวเดียวเมียเดียว" มาถึง : การตอบโต้และตอบรับมโนทัศน์ใหม่ระยะต้น - เมื่อตะวันตกมา : อารัมภกถาแห่งปัญญาเพศสภาพและเพศวิถี - ชนชั้นนำกับการโต้งแย้งมโนทัศน์ "ผัวเดียวเมียเดียว" - พุทธศาสนากับวัฒนธรรม "ผัวเดียวเมียเดียว" ฯลฯ 2. การตอบสนองต่อมโนทัศน์ "ผัวเดียวเมียเดียว" ในสังคมสยาม - ชนชั้นกลางกับการแสดงบทบาทผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ "ผัวเดียวเมียเดียว" และ "ผัวเดียวหลายเมีย" - ในทัศนะวิจารณ์ของชนชั้นกลาง - พระราชทัศนะต่อสาธารณะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว - "ผัวเดียวเมียเดียว" ในวาระการปฏิวัติ พ.ศ.2475 ความท้ายบท 3. ทำให้ (ไม่) เป็น "ผัวเดียวเมียเดียว" : กฎหมายกับบทสรุปว่าด้วยรูปแบบครอบครัว - การปฏิรูประบบกฎหมายภายใต้ภาวะกึ่งอาณานิคม - สงวน "ผัวเดียวหลายเมีย" ไว้ และมโนทัศน์ลำดับศักดิ์ในครอบครัว - ความอิลักอิเหลื่อและทางออกสายกลาง ของปัญหากฎหมายครอบครัว ฯลฯ 4. "ผัวเดียวเมียเดียวแห่งชาติ" : ครอบครัวภายใต้โครงการรณรงค์ทางวัฒนธรรม - "ผัวเดียวเมียเดียว" กับวัฒนธรรม, เอกภาพ และการสร้างชาติ - "วัธนธัมของผัว(เดียว)เมีย(เดียว)" : ครอบครัวผาสุกครอบครัวแห่งชาติ - การประดิษฐ์สร้างพิธีสมรสในยุคสร้างชาติ - ความท้าทายบท บทสรุป

เขียนรีวิว

โปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนเพื่อรีวิว
หนังสือที่เกี่ยวข้อง