ลด 31%

฿242 ฿350
ประเภทหนังสือ : อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740216360
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 346
ขนาดไฟล์ : 9.81 MB
เลือดสีน้ำเงิน ซ้ายไม่จริง ขวาไม่แท้ และประชาธิปไตยในอุดมคติ เบื้องลึกเบื้องหลังของกลุ่ม "เลือดสีน้ำเงิน" ตั้งแต่ภูมิหลัง บทบาท และการเคลื่อนไหวในช่วงเวลา รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กบฎบวรเดช สงครามโลกครั้งที่ 2.. ผู้เขียน ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์ ประวัติศาสตร์ความคิดของกลุ่มการเมือง "เลือดสีน้ำเงิน" ที่ยืนอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ "คณะราษฎร์" ซึ่งงานประวัติศาสตร์หลายชิ้นต่างนิยามให้กลุ่ม "เลือดสีน้ำเงิน" เป็นพวก "ปฏิปักษ์ปฏิวัติ" แต่หนังสือเล่มนี้จะพาเราไปดูเบื้องลึกเบื้องหลังของกลุ่ม "เลือดสีน้ำเงิน" ตั้งแต่ภูมิหลัง บทบาท และการเคลื่อนไหวในช่วงเวลา รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กบฎบวรเดช สงครามโลกครั้งที่ 2 และยุคเผด็จการทหาร 2490 - 2500 เพื่อพิจารณาดูอุดมการณ์ของกลุ่ม "เลือดสีน้ำเงิน" ว่าแท้ที่จริงแล้ว พวกเขายึดมั่นในอุดมการณ์อะไรกันแน่ และสถานการณ์การเมืองมีผลต่ออุดมการณ์ของพวกเขาอย่างไร ท้ายที่สุดหากอุดมการณ์ของพวกเขาสามารถเปลี่ยนไหวพลิกพลิ้วได้ เราจะยังสามารถจัดประเภทคนกลุ่มนี้ให้อยู่ภายใต้คำนิยามตายตัวได้อีกหรือไม่? สารบัญ บทนำ 1. ก่อนการเปลี่ยนแปลงจะมาถึง : สถาะ บทบาท และความคิดของ "กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน" ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 2. การต่อสู้ทางความคิดของบุคคลในกลุ่ม "เลือดสีน้ำเงิน" ในทศวรรษแรกภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2435 3. การต่อสู้ทางความคิดของ "กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน" ในระบบรัฐสภา 4. การต่อสู้ทางความคิดของบุคคลใน "กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน" นอกระบบรัฐสภา 5. การเมืองเรื่องความทรงจำ : ว่าด้วยการช่วงชิงการนิยามอดีตของ "กลุ่มเลือดสีน้ำเงิน คำนิยม ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ปรากฎในหนังสือที่เขียนโดย คุณปฐมาวดี หนังสือเล่มนี้จึงสะท้อนว่ามนุษย์มีความซับซ้อน และหลายคนก็เสนอความคิดที่เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงจนเกิดกว่าจะจัดให้อยู่ภายใต้ป้ายชื่อที่ตายตัว การอ่านหนังสือเล่มนี้จึงคุ้มค่า ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับคุณปฐมาวดีหรือไม่เพียงใดก็ตาม เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้เข้าใจ "คน" และ "ความคิดของคน" ที่เคยมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในพื้นที่ทางการเมืองของไทย จามมุมมองใหม่ที่แตกต่างจากมุมมองอื่นๆ ที่เคยมีมาแล้ว -- สายชล สัตยานุรักษ์ -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เขียนรีวิว

โปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนเพื่อรีวิว
หนังสือที่เกี่ยวข้อง