ลด 31%

฿120 ฿175
ประเภทหนังสือ : อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : รศ.บุญชัด เนติศักดิ์
สำนักพิมพ์ : SE-ED
ISBN : 9745346624
ภาษา : ไทย
จำนวนหน้า : 332
ขนาดไฟล์ : 5.90 MB
ทฤษฎีและปฏิบัติเครื่องรับโทรทัศน์ เล่ม 3 ครอบคลุมในเรื่องของแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในเครื่องรับโทรทัศน์สีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ผู้เขียน รศ.บุญชัด เนติศักดิ์ มีเนื้อหาและข้อมูลประกอบภาพจริงที่ทันสมัย ครอบคลุมในเรื่องของแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในเครื่องรับโทรทัศน์สีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เจาะลึกแหล่งจ่ายไฟตรง SMPS อย่างละเอียด แหล่งจ่าย SOPS แบบต่างๆ ทั้งแบบกราวด์ร้อนและกราวด์เย็น การสวิตชิ่งด้วยเพาเวอร์มอสเฟตและโมดุลเพาเวอร์สวิตชิ่ง และการสแตนบายด์แบบต่างๆ รวมถึงการจ่ายไฟด้วยวิธีสวิตช์คาพาซิเตอร์ เหมาะสำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชาเครื่องรับโทรทัศน์สีชั้นสูง ใช้เพื่อการศึกษาด้วยตนเองหรือใช้เป็นคู่มือซ่อม ในภาคปฏิบัติประกอบด้วยการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าที่จุดต่างๆ ของแหล่งจ่ายไฟ การตรวจวัดการเสียของอุปกรณ์แหล่งจ่ายไฟแต่ละตัว การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ขั้นตอนวิธีการเข้าถึงเสียที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางการตรวจซ่อมอาการเสียที่เกิดเนื่องจากแหล่งจ่ายไฟของเครื่องรับโทรทัศน์ SAMSUNG, LG, SONY (WEGA), PHILIPS และ THOMSOM สารบัญ บทที่ 1 วงจรจ่ายกำลังไฟฟ้าหลักในเครื่องรับโทรทัศน์ 1.1 บทนำ 1.2 วงจรป้องกันการรบกวนทางสายเมน 1.3 วงจรล้างอำนาจแม่เหล็กตกค้างอัตโนมัติ 1.4 การเรียงกระแสและการกรองแรงดันให้เรียบ 1.5 วงจรเลือกระบบแรงดันสายเมน 110/220 VAC อัตโนมัติ 1.6 วงจรเรกูเลเตอร์เชิงเส้น 1.7 ไอซีเรกูเลเตอร์เชิงเส้น 1.8 เรกูเลเตอร์ LDO 1.9 ตำแหน่งการใช้ชิปไอซีเรกูเลเตอร์ 1.10 การตรวจสอบอุปกรณ์ภาคแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าหลัก 1.11 การตรวจซ่อมวงจรจ่ายกำลังไฟฟ้าหลัก 1.12 บทสรุป บทที่ 2 แหล่งจ่ายไฟตรงแบบสวิตชิ่งในเครื่องรับโทรทัศน์ 2.1 บทนำ 2.2 โครงสร้างและส่วนประกอบของแหล่งจ่ายไฟตรงแบบสวิตชิ่ง 2.3 ดีซีคอนเวอร์เตอร์แบบต่างๆ 2.4 การควบคุมแรงดันออกของแหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง 2.5 หลักการของพัลส์วิดท์มอดูเลชั่น (PWM) 2.6 การป้องกันวงจรให้ปลอดภัย 2.7 ระบบกราวด์ของเครื่องรับโทรทัศน์ 2.8 การเริ่มต้นการทำงานของวงจรสวิตชิ่งเรกูเลเตอร์ 2.9 สวิตชิ่งเรกูเลเตอร์แบบใช้ความถี่สัมพันธ์กับการสแกนเส้นแนวนอน 2.10 สวิตชิ่งเรกูเลเตอร์แบบกำเนิดความถี่อิสระด้วยตัวเอง 2.11 สวิตชิ่งเรกูเลเตอร์แบบกำเนิดความถี่อิสระด้วยชิปไอซี 2.12 แหล่งจ่ายไฟสวิตชิ่งที่ใช้กับไฟ AC/DC 2.13 การจ่ายไฟออกของแหล่งจ่ายสวิตชิ่ง 2.14 การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมการเปิดและสแตนด์บายแหล่งจ่ายไฟ 2.15 แหล่จ่ายไฟรอง (Sub-Power Supply) 2.16 การจ่ายแรงดันด้วยวิธีชาร์จปั๊ม (Charge Pump DC-DC Converter) 2.17 บทสรุป บทที่ 3 การตรวจซ่อมแหล่งจ่ายไฟตรงแบบสวิตชิ่งในเครื่องรับโทรทัศน์ 3.1 บทนำ 3.2 การตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ในวงจรจ่ายไฟ 3.3 การตรวจวัดแรงดัน 3.4 ขั้นตอนการซ่อมภาคจ่ายกำลังไฟฟ้า 3.5 ตัวอย่างที่ 1 แนวทางการซ่อมแหล่งจ่ายไฟในเครื่องรับโทรทัศน์สี SAMSUNG (SAMSUNG แท่นเครื่อง S51A รุ่น CS-25 D4SV) 3.6 ตัวอย่างที่ 2 แนวทางการซ่อมแหล่งจ่ายไฟเครื่องรับโทรทัศน์สี LG (LG แท่นเครื่อง MC-64B โมดุลเพาเวอร์สวิตชิ่ง STR-S5707) 3.7 ตัวอย่างที่ 3 แนวทางการซ่อมแหล่งจ่ายไฟเครื่องรับโทรทัศน์สี SONY (SONY โมดุลไอซีเพาเวอร์สวิตชิ่ง STR-F665x) 3.8 ตัวอย่างที่ 4 แนวทางการซ่อมแหล่งจ่ายไฟเครื่องรับโทรทัศน์สี LG (LG แท่นเครื่อง MC-84A โมดุลไอซีเพาเวอร์สวิตชิ่งตระกูล STR-F665x) 3.9 ตัวอย่างที่ 5 แนวทางการซ่อมแหล่งจ่ายไฟเครื่องรับโทรทัศน์สี THOMSON (THOMSON แท่นเครื่อง TX91 ใช้ชิปไอซีควบคุมทรานซิสเตอร์เพาเวอร์สวิตชิ่ง) 3.10 ตัวอย่างที่ 6 แนวทางการซ่อมแหล่งจ่ายไฟเครื่องรับโทรทัศน์สี PHILIPS (PHILIPS แท่นเครื่อง L7.3A ใช้ชิปวงจรรวมควบคุมการสวิตชิ่งของเพาเวอร์มอสเฟต) 3.11 บทสรุป

เขียนรีวิว

โปรดเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียนเพื่อรีวิว
หนังสือที่เกี่ยวข้อง