บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในราชอาณาจักรสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ
ลด 19%
฿299 ฿370
ประเภทหนังสือ :
อีบุ๊ก
ผู้แต่ง : อ็องรี มูโอต์ ผู้แปล กรรณิกา จรรย์แสง
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740214366
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 450
ขนาดไฟล์ : 105.24 MB
ผู้แต่ง : อ็องรี มูโอต์ ผู้แปล กรรณิกา จรรย์แสง
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
ISBN : 9789740214366
ภาษา : thai
จำนวนหน้า : 450
ขนาดไฟล์ : 105.24 MB
บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในราชอาณาจักรสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ (ปกแข็ง)
เป็นบันทึกส่วนตัวว่าด้วยการผจญภัยและประสบการณ์แปลกใหม่ยามอยู่ไกลบ้านไกลเมือง เป็นตัวอย่าง "หลักฐานชั้นต้น" ชิ้นสำคัญของงานเขียนในยุคอาณานิคมจากมุมมองของเจ้าอาณานิคม
ผู้เขียน อ็องรี มูโอต์
ผู้แปล กรรณิกา จรรย์แสง
ทั้งบันทึกส่วนตัวว่าด้วยการผจญภัยและประสบการณ์แปลกใหม่ยามอยู่ไกลบ้านไกลเมือง และเป็นตัวอย่าง "หลักฐานชั้นต้น" ชิ้นสำคัญของงานเขียนในยุคอาณานิคมจากมุมมองของเจ้าอาณานิคม แง่มุมของคนหนุ่มที่มีความโรแมนติกอยู่ในตัว มองโลกลึกซึ้งคมคาย แต่ก็ช่างติไม่แพ้กัน ด้วยเหตุที่ "อ็องรี มูโอต์" ไม่ใช่นายทหารหรือเจ้าหน้าที่ปกครองของรัฐ จึงกล่าวได้ว่าบันทึกของเขาเป็นไปด้วยความสนใจใคร่รู้โดยแท้ บันทึกการเดินทางของเขากลายเป็นงานเขียนที่มีชีวิตชีวา "ไม่ธรรมดา" จากการสอดแทรกแง่คิด มุมมอง อารมณ์ขัน และการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ประสบพบเห็นตลอดทางออกมาเป็นความเรียงน้ำเสียงสนุกๆ ซึ่งระหว่างบรรทัดแฝงด้วยทัศนคติที่ผสมผสาน ระหว่างชายผิวขาวเจ้าอาณานิคม กับ "นักท่องเที่ยวฝรั่ง" ที่ทึ่งและตะลึงกับ "ของแปลก"
สมัยรัชกาลที่ 4 ในบันทึกของมูโอต์นั้น เรียกได้ว่าเป็น "พระเอก" ของเล่ม ผู้อ่านจึงได้รับข้อมูลภาพสะท้อนที่เป็นจริงของบ้านเมืองเราในหลายๆ ภูมิภาคเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ตลอดจนความคิดเห็นต่อสังคม วิถีชีวิตท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐในสมัยนั้น ส่วน "ปราสาทนครวัด" ก็สร้างชื่อเสียงให้มูโอต์ในโลกตะวันตกจากการทำหน้าที่ "กระบอกเสียง" บอกเล่าถึงการมีอยู่ของซากปรักหักพังในดินแดนกัมพูชา และพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของศาสนสถานแห่งนี้ออกมาด้วยตัวอักษรและภาพสเกตช์รายละเอียดตระการตา จนหลายคนเข้าใจผิดไปว่า นายฝรั่งรายนี้คือผู้ค้นพบนครวัด! ปิดท้ายด้วย "เมืองลาว" ดินแดนสุขสงบงดงามสุดปลายเส้นทางมรณะที่เรียกขานกันว่า "ป่าดงพญาไฟ" เมืองลาวคือจุดหมายในการเดินทางเที่ยวหลังซึ่งเต็มไปด้วยความลำบากแสนสาหัสของมูโอต์ แต่เขาก็ไปถึงเมืองหลวงพระบางได้ในที่สุด แม้จะเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่ต้องจบชีวิตลงในวัย 35 ด้วยก็ตาม
สารบัญ
บทที่ 1 เดินทางข้ามทวีป / ราชอาณาจักรสยามและบางกอกเมื่อแรกเห็น
บทที่ 2 ประชากรเมืองบางกอก / ชาวสยาม / ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก / ทัศนคติเรื่องครอบครัว / ข้อขัดแย้งแปลกต่างชวนฉงน / ความเชื่อเรื่องโชคลาง
บทที่ 3 เจ้าแผ่นดินสยาม / ความรอบรู้ของพระองค์ / พระราชวังที่ประทับ
บทที่ 4 กษัตริย์องค์ที่ 2 / การถือชั้นชนในสังคมและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเจ้าใหญ่นายโต / ฝ่ายในและนักรบหญิงในองค์กษัตริย์
บทที่ 5 การละเล่นและการแสดง
บทที่ 6 ล่องทวนลำน้ำ / ชีวิตริมสองฟากฝั่ง เรือลำเล็กลำน้อย / เมืองอยุธยาโบราณและเมืองปัจจุบัน / ส่วนเสี้ยวประวัติศาสตร์จากฝีพระหัตถ์
บทที่ 7 ปากเพรียว / เขาพระพุทธบาท / พระราชาคณะ / วัดและสำนักสงฆ์ / รอยพระพุทธบาท / ร่องรอยของชั้นดิน
บทที่ 8 เขาปถวี / ทิวทัศน์สุดงดงาม / เดินทางกลับเมืองบางกอก
บทที่ 9 ออกเดินทางไปกัมพูชา / นั่งเรือประมง / เมืองจันทรบูร / ผลิตผลท้องถิ่น การค้า สภาพภูมิศาสตร์ / หมู่เกาะในอ่าวไทย / ภาพจระเข้ผงาดงับฝูงลิง
บทที่ 10 ชีวิตแถบเขตเขา (เขาสระบาป) / การล่าสัตว์ เสือ งู ฯลฯ / พันธ์ุไม้อุดมสมบูรณ์ที่เมืองจันทบูร
ฯลฯ
คำนิยม
บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ถือเป็นประจักษ์พยานแท้จริงยุคสมัยอย่างยากที่จะทดแทน เมื่อบรรยายถึงสถานที่ ผู้คน และขนบธรรมเนียมประเพณีในอดีตเมื่อ 150 ปีก่อน เหตุที่เขาเลือกบันทึกเล่าเรื่องการเดินทาง เป็นแนวการเขียนที่นิยมกันในสมัยนั้น ด้วยเรื่องเล่าเปี่ยมสีสัน สอดแทรกเหตุการณ์ความยากลำบากครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ต้องเผชิญจากการเดินทางในถิ่นแดนนั้น ทั้งนี้ ที่เราสมควรจดจำรำลึกไว้ก็คือ ความชื่นชมอย่างจริงใจและความรู้สึกตรึงตาตรึงใจที่เขาแสดงไว้ต่อโลกและผู้คนที่เขาค้นพบ บันทึกเรื่องนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2411 ฉบับแปลภาษาไทย จึงเป็นที่ตั้งตารอคอยมานานแสนนาน
-- นายตีแยรี วิโต --
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
ประวัติศาสตร์, บันทึกการเดินทาง, ภูมิประเทศ, การท่องเที่ยว, สารคดีท่องเที่ยว, Ebook, matichon, bookcaze, สำนักพิมพ์มติชน